ประโยค

ประโยคในภาษาไทย

ความหมายของประโยค

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  (๒๕๔๖ : ๖๑๗)  ได้ให้ความหมาย  และที่มาของคำว่าประโยค  [ประโหฺยก]  (ไว)  น.  คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่ง ๆ  เช่น  ประโยคบอกเล่า  ประโยคปฏิเสธ  ประโยคคำถาม;  ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี  เช่น  เปรียญ  ๓  ประโยค  สอบได้ประโยค  ๓;  ความเพียร  เครื่องประกอบความเพียร  เช่น  ประโยคสัมปทา หมายถึง  การถึงพร้อมด้วยความเพียร.  (ส.  ปฺรโยค;  ป.  ปโยค)

พระยาอุปกิตศิลปสาร  (๒๕๒๒ : ๑๙๒)  ซึ่งกล่าวถึงความหมายของประโยคไว้ในหนังสือหลักภาษาไทย  ส่วนของวากยสัมพนธ์  โดยสรุปว่า ประโยค  คือ  ถ้อยคำที่มีเนื้อความครบบริบูรณ์  และประโยคหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น  ๒  ภาค  ดังนี้

  • ภาคประธาน หมายความว่า  ส่วนที่ผู้กล่าวอ้างขึ้นก่อน  เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าอะไรเป็น     ข้อสำคัญของข้อความ  ภาคนี้โดยมากมักเป็นคำนาม  หรือสรรพนามเป็นส่วนใหญ่
  • ภาคแสดง หมายถึง  คำที่แสดงอาการของภาคประธานให้ได้ความครบว่าแสดงอาการอย่างนั้นอย่างนี้

ข้อความใด ๆ ถ้ามีความหมายครบ  ๒  ภาค  บริบูรณ์เช่นนี้แล้ว  ก็ได้ชื่อว่าเป็นประโยค  เช่น  สุดาชอบวิชาหลักภาษาไทย

กำชัย  ทองหล่อ  (๒๕๓๓ : ๔๐๗)  ให้ความหมายของประโยคในหนังสือหลักภาษาไทย  ไว้ว่า

ประโยค  คือ  กลุ่มคำที่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นระเบียบและมีเนื้อความครบบริบูรณ์โดยปรกติ  ประโยคจะต้องมีบทประธานและบทกริยาเป็นหลักสำคัญ  แต่ถ้าใช้สกรรมกริยาจะต้องมีบทกรรมมารับ  ถ้าใช้    วิกตรรถกริยา  จะต้องมีบทขยาย  จึงจะได้ความสมบูรณ์  บทขยายนั้น    จะเป็นคำ  วลี  หรือประโยค  ก็ได้  ถ้าใช้อกรรมกริยา  ไม่ต้องมีกรรมรับ  เพราะได้ความสมบูรณ์   อยู่แล้ว  แต่จะมีบทขยายให้ความชัดเจนขึ้นอีกก็ได้

ดร.วิจินตน์  ภานุพงศ์  (อ้างถึงใน  จินดา  งามสุทธิ.  ๒๕๒๔ : ๙๔)  แสดงทัศนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของประโยค โดยสรุปได้ว่า  คำนามตัวเดียวหรือกริยาคำเดียวก็มีลักษณะเป็นประโยคได้  เช่น  ถามว่า  “ใครอยู่บ้าน”  ตอบว่า  “แดง”  คำว่า  แดง  ก็สามารถเป็นประโยคได้  เพราะสามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ระหว่างผู้ถามกับผู้ตอบ”และ ดร.วิจินตน์  ภานุพงศ์ และคณะ  (๒๕๕๒ : ๙๑)  ได้ให้ความหมายของประโยค        ในหนังสือบรรทัดฐานภาษาไทย  เล่ม  ๓  :  ชนิดของคำ  วลี  ประโยค และสัมพันธสาร  ว่า ประโยค  คือ  หน่วยทางภาษาที่ประกอบด้วยคำหรือคำหลายคำเรียงต่อกัน  กรณีที่เป็น    คำหลายคำเรียงต่อกัน  คำเหล่านั้นต้องมีความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง  ประโยคเป็นหน่วยทางภาษาที่สามารถสื่อความได้ว่าเกิดอะไรขึ้น  หรืออะไรมีสภาพเป็นอย่างไร  โดยทั่วไปประโยคประกอบด้วยส่วนสำคัญ  ๒  ส่วน  คือ  นามวลีกับกริยาวลี  ประโยคอาจมีเพียงกริยาวลี     ก็ได้  แต่จะมีเพียงนามวลีไม่ได้

จากความหมายของประโยคที่กล่าวมา  สรุปได้ว่า

ประโยค  คือ  คำหรือคำหลายคำที่นำมาเรียงกันตามระเบียบของภาษาและไวยากรณ์      เกิดใจความสมบูรณ์  ซึ่งประกอบไปด้วยภาคประธานหรือนามวลี  และภาคแสดงหรือกริยาวลี     ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ทั้งทางภาษาเขียน  หรือภาษาพูด  แต่การใช้ภาษาพูดในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน  อาจละเว้นส่วนหนึ่งส่วนใดได้  ในฐานที่เข้าใจกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง  เช่น

“เธอจะไปดูหนังกับฉันไหม”

“ไปสิ”   (ถือเป็นประโยค  เพราะมีใจความว่า  ฉันจะไปดูหนังกับเธอ)

“ใครทำข้าวหกเลอะเทอะ”

“พ่อ”  (ถือเป็นประโยค  เพราะมีใจความว่า  พ่อทำข้าวหกเลอะเทอะ)

“ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก”  (ถ้าขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก)

 

ส่วนประกอบของประโยค

 

ประโยคแต่ละประโยคอาจมีความไม่เท่ากัน  บางประโยคมีแต่ประธานกับกริยาก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์เพราะครบทั้งภาคประธานและภาคแสดง  เช่น  นักบิน  คนเดิน  ไก่ชน  ฯลฯ  บางประโยคประกอบด้วย  ประธาน  กริยา  กรรม  และอาจมีคำขยาย  และบทเชื่อมด้วย

หนังสือบรรทัดฐานภาษาไทย  เล่ม  ๓  :  ชนิดของคำ  วลี  ประโยค และสัมพันธสาร    (วิจินตน์  ภานุพงศ์ และคณะ,  ๒๕๕๒ : ๙๑)  กล่าวไว้ว่า  โดยทั่วไปประโยคประกอบด้วย          ส่วนสำคัญ  ๒  ส่วน  คือ  นามวลี  ทำหน้าที่  ประธาน  กับ  กริยาวลี  ทำหน้าที่  ภาคแสดง             ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

นามวลี กริยาวลี
ประธาน ภาคแสดง

พ่อ

พ่อของผม

พ่อของผม

เพื่อน

เพื่อน  ๒-๓  คนของฉัน

เพื่อน  ๒-๓  คนที่ฉันรู้จักมาตั้งแต่สมัยเรียน

คนไทย

คนไทยรุ่นใหม่

คนไทยรุ่นใหม่ในทศวรรษนี้

เหนื่อย

เหนื่อย

เหนื่อยมาก

เหนื่อยจนบอกไม่ถูก

เป็นคนอดทน

เป็นคนอดทนมากทีเดียว

เป็นคนอดทนจนใคร ๆ ต่างพากันยอมรับ

ควรมีวินัย

ควรมีวินัยในการใช้จ่าย

ควรมีวินัยในการใช้จ่ายเงินทองที่หามาได้

 

ประธาน  คือ  นามวลีซึ่งอาจเป็นคำนามคำเดียวหรือคำนามกับส่วนขยาย  มีความสัมพันธ์กับภาคแสดงในด้านวากยสัมพันธ์และความหมายในฐานะที่เป็นผู้แสดงกิริยาอาการ  ผู้แสดงสภาพ  หรือเจ้าของคุณสมบัติ

 

ส่วนภาคแสดง  คือ  กริยาวลีที่แสดงกิริยาอาการ  สภาพ  หรือคุณสมบัติของประธาน     ภาคแสดงจะต้องมีคำกริยาอยู่ด้วยเสมอ  และอาจมีหน่วยกรรม  หน่วยเติมเต็ม  หรือหน่วยขยายด้วยก็ได้

 

ในการสื่อสารจริง  ประธาน  บางส่วนของประธาน  หรือบางส่วนของภาคแสดง  อาจ     ไม่ปรากฏก็ได้หากมีบริบทหรือสถานการณ์ที่ช่วยทำให้เข้าใจประโยคนั้นเพียงพออยู่แล้ว  เช่น

 

                ประโยค  หิวจัง  เจ็บนะ  แม้ไม่ปรากฏประธาน  ก็เข้าใจได้ว่าประธานของประโยคคือผู้พูดประโยคดังกล่าว

 

ประโยค  อย่าส่งเสียงดัง  ไปอาบน้ำเสียก่อน  ไม่ปรากฏประธาน  เช่นกัน  แต่ก็เข้าใจได้ว่าประธานของประโยคคือผู้ฟังประโยคดังกล่าว

 

ส่วนประโยค  ฉันยอมจ่ายไปเยอะ  กว่างานนี้จะสำเร็จ  แม้ไม่ปรากฏกรรม  แต่ก็สามารถคาดเดาจากบริบทได้ว่า  กรรมก็คือ  เงิน

 

โดยทั่วไปประโยคในภาษาไทยจะมีประธานอยู่หน้าภาคแสดง  แต่ในกรณีที่ต้องการเน้นกรรม  หน่วยเติมเต็ม  หน่วยเสริมความ  กริยา  วิเศษณ์วลี  หรือบุพบทวลี  ก็อาจย้ายกรรม  หน่วยเติมเต็ม  หน่วยเสริมความ  กริยา  วิเศษณ์วลี  หรือบุพบทวลีมาไว้หน้าประธานก็ได้

ตัวอย่างประโยคที่ย้ายกรรมมาไว้หน้าประธาน

 

เสื้อสีฟ้าตัวนั้น  ฉันซื้อมาจากพรานนก

กุหลาบสีแดงในแจกันบนโต๊ะ  ใครซื้อมา

สมุดบันทึกของสมศักดิ์  ครูชมว่าเรียบร้อยดี

 

ตัวอย่างประโยคที่ย้ายหน่วยเติมเต็มมาไว้หน้าประธาน

 

คุณปู่ของเขา   ฉันว่าหน้าเขาไม่คล้ายนะ

เจ้าสาวของทายาทเศรษฐี  ใครล่ะจะไม่อยากเป็น

พ่อต่างหาก  ไม่ใช่แม่  ฉันว่าหน้าตาเขาเหมือนกัน

 

ตัวอย่างประโยคที่ย้ายหน่วยเสริมความมาไว้หน้าประธาน

 

บ้าน  ผมก็กลับตรงเวลาทุกครั้ง

เมืองนอกเมืองนา  ฉันไม่เคยไปอยู่หรอก

โรงเรียน  ตอนเด็ก ๆ ฉันไม่อยากไปหรอก

 

ตัวอย่างประโยคที่ย้ายกริยามาไว้หน้าประธาน

 

โตเร็วนะ  ต้นไม้พวกนี้

เก่งจริง ๆ  ลูกศิษย์ของครู

อร่อยมาก  ขนมเมืองเพชรที่คุณซื้อมา

 

ตัวอย่างประโยคที่ย้ายวิเศษณ์วลีมาไว้หน้าประธาน

 

บ่อยเหลือเกิน  คนเมาขับรถชนกัน

วันพุธนี้  ตาลกับเตยจะเดินทางไปเชียงใหม่

ในปัจจุบันนี้  คนนิยมใช้ยาสมุนไพรกันมากขึ้น

 

ตัวอย่างประโยคที่ย้ายบุพบทวลีมาไว้หน้าประธาน

 

ในเมืองไทย  ต่างชาติเข้ามาเที่ยวกันมาก

บนโต๊ะ  ฉันวางหนังสือเล่มใหญ่ไว้ให้คุณ

ใต้ถุนบ้าน  พวกแม่บ้านนั่งทอผ้ากันอย่างสบาย

 

กรรม  หน่วยเติมเต็ม  หน่วยเสริมความ  กริยา  ที่สามารถย้ายมาอยู่หน้าประธานได้  มักมีคำขยายอยู่ด้วย  และสามารถยกขึ้นเป็นหัวข้อ  หรือหน่วยนำความ  (topic)  ได้

 

หน่วยนำความ  คือ  หน่วยของประโยคที่ยกมาเป็นหัวข้อเรื่องของประโยค  หน่วยนำความอาจเป็นประธาน  เป็นกรรม  เป็นทั้งประธานและกรรม  หรือไม่เป็นทั้งประธานและกรรมของประโยคก็ได้  ดังนี้

หน่วยนำความทำหน้าที่เป็นประธาน

 

พวกเราทั้งหลายที่มาร่วมชุมนุมกันวันนี้  ล้วนแต่เป็นตัวแทนจากนานาอารยประเทศ

 

หน่วยนำความทำหน้าที่เป็นกรรม

 

นักเรียนทุกคนในห้องนี้  มีหรือที่ครูไม่รัก

 

หน่วยนำความทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมในขณะเดียวกัน

 

ความสามัคคีนั้น  ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า  เป็นคุณธรรมอย่างวิเศษที่อาจพาหมู่คณะไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

 

หน่วยนำความซึ่งไม่เป็นทั้งประธานและกรรม

 

บรรดาสัตว์เลี้ยงทั้งหมดของผม  ผมชอบแมวที่สุด

 

ประเภทของประโยคในภาษาไทย

 

ประยุทธ์  กุยสาคร  (๒๕๒๗  :  ๑๓๗-๑๔๓)  กล่าวถึงประเภทของประโยคในภาษาไทย  สามารถแบ่งออกเป็น  ๒  ประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 

  • ประเภทของประโยคตามแนวหลักภาษาเดิม

๑.๑     แบ่งตามลักษณะการเรียงคำในประโยคเรียกว่ารูปประโยค

๑.๒    แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของประโยค

๑.๓    แบ่งตามลักษณะการใช้ของประโยค

 

  • ประเภทของประโยคตามแนวภาษาศาสตร์

 

  • ประเภทของประโยคตามแนวหลักภาษาเดิม สามารถแบ่งชนิดของประโยคได้หลายลักษณะ  ดังต่อไปนี้

 

๑.๑      แบ่งตามลักษณะการเรียงคำในประโยคเรียกว่ารูปประโยค  มี  ๕  ชนิดดังนี้

 

                                    ๑)    ประโยคกรรตุ  หรือประโยคประธาน  คือ  ประโยคที่มีประธานอยู่หน้า  ตามด้วยกริยา หรือตามด้วนกริยาและกรรม  หรือตามด้วยกริยาและส่วนเติมเต็ม  เช่น

 

รถติด                               กบร้อง                             งูกินกบ

แม่ซักผ้า                          คนยิงนก                         ฉันซื้อขนม

พระฉันอาหาร               รถชนเสาไฟฟ้า             กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

ผู้ชายคนนี้ขุดดิน           ใครมาที่บ้านของฉัน     รถเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์

๒)  ประโยคกรรม  คือ  ประโยคที่มีกรรมอยู่หน้า  เพื่อเน้นกรรมให้ชัดเจน  เช่น

แมวถูกสุนัขกัด                                    (สุนัขกัดแมว)

ฉันถูกครูดุอีกแล้ว                           (ครูดุฉันอีกแล้ว)

หนังสือเล่มนี้ใครแต่ง                       (ใครแต่งหนังสือเล่มนี้)

กระเป๋าสตางค์ของฉันถูกขโมย       (ใครไม่รู้ขโมยกระเป๋าสตางค์ของฉันไป)

 

๓)  ประโยคกริยา  คือประโยคที่มีคำกริยาขึ้นต้น  ตามด้วยประธาน  กริยาเหล่านี้คือ  เกิด  มี  ปรากฏ  เช่น

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศจีน               (แผ่นดินไหวเกิดที่ประเทศจีน)

ปรากฏวัตถุประหลาดบนท้องฟ้า         (วัตถุประหลาดปรากฏบนท้องฟ้า)

มีกระทิงหลายฝูงในป่าห้วยขาแข้ง      (กระทิงมีหลายฝูงในป่าห้วยขาแข้ง)

 

๔)  ประโยคการิต  คือประโยคประธานหรือกรรมที่มีผู้รับใช้แทรกเข้ามา  เช่น

ครูสั่งศิษย์ให้ทำการบ้าน

ครูบอกให้นักเรียนนั่งลง

ครูใช้นักเรียนไปซื้อโอเลี้ยง

แม่ให้ฉันตักบาตรในวันเกิด

ข้าวแฉะๆ นี่นะให้ฉันกิน                     (เธอให้ฉันกินข้าวแฉะๆ นี่นะ)

 

๕)  ประโยคกริยาสภาวมาลา  คือ  ประโยคที่มีกริยาหรือกริยาวลี  ทำหน้าที่เป็นคำนาม  ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน  กรรม  หรือ  บทขยาย  เช่น

ฉันชอบมองโลกในแง่ดี                         (ฉันชอบการมองโลกในแง่ดี)

ว่ายน้ำเป็นกีฬาที่ฉันชอบ                      (การว่ายน้ำเป็นกีฬาที่ฉันชอบ)

กินจุบกันจิบทำให้อ้วนได้                     (การกินจุบกันจิบทำให้อ้วนได้)

สนใจเรื่องคนอื่นทำให้ฟุ้งซ่าน            (การสนใจเรื่องคนอื่นทำให้ฟุ้งซ่าน)

สวดมนต์ทุกวันทำให้จิตใจสงบ           (การสวดมนต์ทุกวันทำให้จิตใจสงบ)

 

คำกริยาสภาวมาลาที่ทำหน้าที่เป็นประธาน  กรรม  หรือบทขยาย  จะมีความหมายเหมือนกับมีคำว่า “การ” นำหน้า

 

ข้อสังเกต  :    ข้อแตกต่างระหว่างประโยคกริยากับประโยคกริยาสภาวมาลา

ประโยคกริยา  คำที่ขึ้นต้นประโยค  แต่ยังทำหน้าที่  กริยา

ประโยคสภาวมาลา  คำกริยาหรือกริยาวลีในประโยคจะทำหน้าที่ประธาน  กรรม  หรือบทขยาย

๑.๒    แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของประโยค  มี  ๓  ชนิด  ดังนี้

 

                                    ๑)    เอกัตถประโยค  คือประโยคที่มีข้อความเพียงข้อความเดียว  เช่น

โอ้โฮ  ฝนตกมากจัง

เราพบกันริมหนองหาร

ฉันชอบอากาศชายทะเล

เขาเป็นบุตรชายคนโตของฉัน

อาจารย์ที่ปรึกษากำลังอบรมนักศึกษา

                                    ๒)      อเนกัตถประโยค  คือประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียวตั้งแต่  ๒  ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ด้วยกัน  โดยมีคำสันธานเชื่อมระหว่างประโยคความเดียวเหล่านั้น  แบ่งออกเป็น  ๔  ชนิด  ดังนี้

  • อันวยาเนกัตถประโยค คืออเนกัตถประโยคที่มีข้อความคล้อยตามกัน  โดยใช้สันธาน  และ,  กับ,  แล้ว……จึง,  พอ……ก็  ฯลฯ  เชื่อมประโยค  เช่น

      นิดและน้อยทำการบ้าน

      คุณพ่อกับคุณแม่กำลังรับประทานอาการ

      เขาไปทำงานแล้วเขาจึงกลับบ้าน

      พอดนตรีบรรเลง  ตัวละครก็เต้นระบำออกมา

  • พยติเรกาเนกัตถประโยค คืออเนกัตถประโยคที่มีข้อความขัดแย้งกัน  โดยใช้สันธาน  แต่,  แต่ทว่า,  ถึง……ก็,  กว่า……ก็,  ถึง……แต่……ก็  ฯลฯ  เชื่อมประโยค  เช่น

      น้ำขึ้น  แต่ลมลง

      เขาเคยเห็น  แต่ทว่าเขาไม่รู้จัก

ถึงเธอพิการเขาก็ยังรัก

      กว่าน้องจะกลับถึงบ้านฉันก็หลับแล้ว

      ถึงผมจะจนทรัพย์  แต่ก็รวยน้ำใจ

  • วิกัลปาเนกัตถประโยค คืออเนกัตถประโยคที่มีข้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง  โดยใช้สันธาน  หรือ,  มิฉะนั้น,  ไม่เช่นนั้น,  ไม่อย่างนั้น,  หรือไม่ก็  ฯลฯ  เชื่อมประโยค  เช่น

      คุณจะอยู่หรือจะไป

      คุณต้องเลิกเที่ยวกลางคืน  มิฉะนั้นคุณจะอายุสั้น

      คุณต้องรีบดูหนังสือสอบ  ไม่เช่นนั้นคุณจะสอบตก

      นักเรียนทุกคนต้องทำงาน  หรือไม่ก็นอนเสีย

  • เหตวาเนกัตถประโยค คืออเนกัตถประโยคที่มีข้อความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน  โดยมีสันธาน  จึง,  ฉะนั้น,  ดังนั้น,  เพราะ……จึง,  เพราะฉะนั้น……จึง  ฯลฯ  เชื่อมประโยค เช่น

เขามัวคิดถึงแต่คนรัก  จึงสอบไล่ตก
เขาเล่นกีฬาทุกเช้า  ดังนั้นร่างกายจึงแข็งแรง
เพราะเขาพูดเพราะ  คนจึงรักเขา

เขาเกียจคร้านทำงาน  เพราะฉะนั้นเขาจึงยากจน

 

                                    ๓)  สังกรประโยค  คือประโยคใหญ่ที่มีประโยคเล็กตั้งแต่  ๒  ประโยคขึ้นไปรวมกัน  แต่มีประโยคหลักหรือประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงประโยคเดียว  ส่วนประโยคอื่น     ทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก  ดังนั้นสังกรประโยคจะประกอบด้วยประโยค  ๒  ชนิดคือ

  • มุขยประโยค หมายถึงประโยคหลักหรือประโยคที่มีใจความสำคัญ   ซึ่งจะขาดไม่ได้และมีเพียงประโยคเดียวต่อหนึ่งสังกรประโยคเท่านั้น  เช่น

            ฉันมีกางเกงตัวหนึ่งซึ่งมีขาบาน

            เขามีหนังสือซึ่งฉันไม่มี

เขาอ่อนเพลียจนเขาต้องพักผ่อน

คนที่ปรารถนาความสุข  จะต้องมีหลักธรรมประจำใจ

  • อนุประโยค หมายถึงประโยคที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ความดีขึ้น  แบ่งออกเป็น  ๓  ชนิด  คือ
  • นามานุประโยค คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่คล้ายคำนาม  คือ      อาจเป็นบทประธาน  บทกรรมหรือบทขยายก็ได้  เช่น

เขาพูดเช่นนี้  เป็นการส่อนิสัยชั่ว  (บทประธาน)

ฉันเห็นเด็กเรียนหนังสือ  (บทกรรม)

ฉันเกลียดคนชอบนินทา  (บทกรรม)

อาหารสำหรับนักเรียนเล่นละคร  มีอยู่ในห้อง  (บทขยาย)

  • คุณานุประโยค คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่ประกอบนามหรือสรรพนาม  โดยใช้ประพันธสรรพนาม  ที่  ซึ่ง  อัน  เป็นบทเชื่อม  เช่น

ฉันรักคนไทยที่รักชาติไทย

คนโง่ซึ่งรวมอยู่กับนักปราชญ์  ย่อมฉลาดได้ดุจกัน

บทเพลงอันไพเราะเพราะพริ้ง  เริ่มบรรเลงแล้ว

  • วิเศษณานุประโยค คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันอันเป็นส่วนหนึ่งของประโยคสำคัญ  เช่น

เขาดีจนฉันเกรงใจ

ฉันมา  เมื่อเธอหลับ

เขามีความรู้  เพราะเขาอ่านหนังสือมาก

 

๑.๓     แบ่งตามลักษณะการใช้ของประโยค  หมายถึงประโยคที่แบ่งตามลักษณะการใช้ของผู้พูด  มีหลายชนิด  เช่น

                                    ๑)    ประโยคบอกเล่าหรือแจ้งให้ทราบ  เป็นประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าบ่งชี้ ให้เห็นว่า  ประธานทำกริยา  อะไร  ที่ไหน  อย่างไร  และเมื่อไร  หรือประธานมีสภาพลักษณะ  หรือสภาวะอย่างไร  เช่น

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

ฉันไปพบเขามาแล้ว

เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติ

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

วิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้

ผู้หญิงต้องการธาตุเหล็กมากกว่าผู้ชาย

ครูสอนนักเรียนประดิษฐ์ดอกไม้จากวัสดุ

โรคเบาหวานสามารถทำให้เกิดอาการไร้สมรรถภาพได้

เราใช้เวลากับการพูดมากเท่าไรเวลาทำงานก็น้อยลงเท่านั้น

                                    ๒)      ประโยคปฏิเสธ  เป็นประโยคที่มีเนื้อความปฏิเสธ  จะมีคำว่า  ไม่  ไม่ได้   หามิได้  มิใช่  ใช่ว่า  ประกอบอยู่ด้วย  เช่น

ผมไม่สนใจข้อเสนอของเขา

พ่อไม่เห็นด้วยกับความคิดของแม่

เราไม่ได้ส่งข่าวถึงกันมานานมาก

เขาไม่ได้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ

นั่นมิใช่ความผิดของเธอ

คุณมิได้อ่านคำแนะนำก่อนใช้ยา

หากคิดว่าเขาเป็นคนยากจน  หามิได้เขาร่ำรวยมานานแล้ว

เงินใช่ว่าจะซื้อได้ทุกสิ่ง

คนพูดเก่งใช่ว่าจะทำงานเก่งเสมอไป

                                    ๓)  ประโยคถามให้ตอบ  อยู่ในประโยคที่มีใจความเป็นคำถาม  จะมีคำว่า  หรือ  ไหม  หรือไม่  ทำไม  ใคร  อะไร  ที่ไหน  อย่างไร  อยู่หน้าหรือท้ายประโยค  เช่น

เธออ่านหนังสือเตรียมสอบหรือยัง

อะไรทำให้เธอมีความคิดเช่นนี้

ใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโกงกินครั้งนี้

ทำไมคุณคิดเป็นนักการเมือง

เธอเห็นคนที่เพิ่งเดินผ่านไปไหม

 

                                    ๔)  ประโยคบังคับ  ขอร้อง  และชักชวน  เป็นประโยคที่มีเนื้อความเชิงบังคับ  ขอร้อง  และชักชวน  โดยมีคำอนุภาค  หรือคำเสริมบอก  เนื้อความของประโยค

 

  • ประโยคแสดงการบังคับ มักจะละประธานไว้ในฐานที่เข้าใจ  เช่น

แสดงการห้าม

อย่าดื่มสุราก่อนขับรถ

อย่ามาโรงเรียนสาย

ห้ามเดินลัดสนาม

ห้ามนำอาวุธเข้ามาบริเวณนี้

แสดงการสั่งให้ทำ

กินให้หมดเดี๋ยวนี้นะ

เงียบ ๆ หน่อย เด็กกำลังหลับ

เดินเร็ว ๆ สิ

ทั้งหมดแถวตรง

                                                            จงทำดี  มีศีลธรรม  ถือความสัตย์

 

  • ประโยคแสดงการขอร้อง มักจะละประธานไว้ในฐานที่เข้าใจ  และใช้คำที่แสดงการขอร้องไว้หน้าประโยค  เช่น

กรุณาเดินเบา ๆ

กรุณาเปิดพัดลมให้หน่อย

โปรดระวังคนล้วงกระเป๋า

โปรดตรวจส่งของให้ครบก่อนลงจากรถ

 

ข้อสังเกต  :    โปรด  ใช้ในกรณีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง

กรุณา  ใช้ในกรณีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้พูด

  • ประโยคแสดงการชักชวน มักจะละประธานไว้ในฐานที่เข้าใจ  เช่นกัน  และใช้คำอนุภาค  นะ  น่ะ  เถอะ  เถอะนะ  เถอะน่ะ  เถอะน่า  ไว้ท้ายประโยค  เช่น

เราไปภูเก็ตกันนะ

ไปด้วยกันเถอะ

เธอลองพยายามใหม่อีกสักครั้งน่ะ

กินกันก่อนน่า  เรื่องอื่นค่อยว่ากันนะ

คุณเลิกสูบบุหรี่เถิดนะ  เพื่อสุขภาพของลูกและตัวคุณเอง

เราไปกันก่อนเถอะนะ  เดี๋ยวเขาก็ตามไปเองน่า

 

นอกจากนี้ยังมีลักษณะการใช้ประโยคอีกหลายชนิด  เช่น  ประโยครำพึงบ่นพร่ำเพ้อ  ประโยคทักทาย  ปราศรัย  ประโยคโฆษณาชวนเชื่อ  ประโยคแนะนำสั่งสอน  ประโยคตัดพ้อต่อว่า  ประโยคประชดประชัน  เป็นต้น

 

  • ประเภทของประโยคตามแนวภาษาศาสตร์ ประโยคตามแนวภาษาศาสตร์หมายถึงประโยคภาษาพูดที่มุ่งเอาความเข้าใจระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังเป็นสำคัญ  บางครั้งไม่จำเป็นต้องมีครบทั้งประธาน  กริยาและกรรมเหมือนอย่างประโยคไวยากรณ์หรือประโยคภาษาเขียน  เช่น  ถามว่า  “คุณกินข้าวมาหรือยัง”  ตอบว่า  “ยัง”  คำตอบ  “ยัง”  ถือว่าเป็นประโยชน์แล้วแต่เป็นประโยคภาษาพูด  ถ้าหากจะเปลี่ยนเป็นประโยคไวยากรณ์จะต้องตอบว่า  “ผมยังไม่ได้กินข้าว”  ประโยคตามแนวภาษาศาสตร์  วิจินตน์  ภาณุพงศ์  (อ้างถึงใน  ประยุทธ์  กุยสาคร  (๒๕๒๗  :  ๑๔๑)  ได้แบ่งออกเป็น  ๒  วิธี  คือ

 

วิธีที่  ๑  แบ่งประโยคออกเป็น  ๒  ชนิด  คือ  ประโยคเริ่มกับประโยคไม่เริ่ม

วิธีที่  ๒  แบ่งประโยคออกเป็น  ๔  ชนิด  คือ  ประโยคสามัญ  ประโยคซับซ้อน  ประโยคผสม  และประโยคเชื่อม

 

การแบ่งชนิดของประโยคทั้ง  ๒  วิธี  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

ประโยคเริ่ม  คือประโยคที่ใช้เริ่มต้นสนทนาได้  เพราะเมื่อพูดแล้วผู้พังจะเข้าใจความหมายได้ทันที  ไม่จำเป็นต้องอาศัยคำพูดที่มาก่อน  ประโยคเริ่มอาจจะอยู่ตอนต้นของการสนทนาหรือตอนกลางของการสนทนาก็ได้

 

ตัวอย่าง

  • น้องจะไปดูหนังเที่ยงวันนี้
  • พี่สมศรีจะไปกับเขาไหมคะ

 

ประโยค  ก.  ใช้เริ่มบทสนทนา  และประโยค  ข.  ใช้ในตอนกลางบทสนทนา

ประโยคไม่เริ่ม  คือประโยคที่ใช้เริ่มต้นสนทนาไม่ได้  เพราะต้องขึ้นอยู่กับประโยคอื่น ๆ ที่มาก่อนในบทสนทนาเดียวกัน

ตัวอย่าง

  • กิน
  • เสียดายจริง

ทั้งประโยค  ก.  และประโยค  ข.  จะไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมายของประโยคหรือเจตนา  ของผู้พูดได้  ถ้าไม่มีประโยคอื่นมาข้างหน้าก่อน  เช่น  “แดงจะกินส้มไหม”  นำประโยค  ก.  หรือ  “คุณแดงพลาดโอกาสไปเรียนต่างประเทศ  นำประโยค  ข.

 

ประโยคสามัญ  คือประโยคที่มีส่วนประกอบเพียงส่วนเดียวหรือหลายส่วนเรียงกัน       เป็นประโยคเริ่ม  หรือประโยคไม่เริ่ม  ซึ่งมีแบบโครงสร้างของประโยคอยู่ทั้งหมด  ๒๐  แบบ       ซึ่งมีรายละเอียดในบทที่  ๑๓  ว่าด้วยการวิเคราะห์ประโยค  ประโยคสามัญมีลักษณะเหมือน    เอกัตถประโยคตามแนวหลักภาษาเดิมนั่นเอง

 

ประโยคซับซ้อน  คือประโยคที่ประกอบด้วยอนุพากย์ต่างชนิดกัน  ๒  อนุพากย์ขึ้นไป     แต่ละอนุพากย์อาจจะมีอนุพากย์อื่นซ้อนอยู่ด้วยอีกก็ได้  (อนุพากย์  หมายถึงประโยคสามัญลดลงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประโยคใหญ่)  ดังตัวอย่าง

ฉันชอบเด็ก  ที่มาหาคุณเมื่อตะกี้  (ประกอบด้วยอนุพากย์  ๒  อนุพากย์  คือ       อนุพากย์หลัก  และอนุพากย์คุณศัพท์)

การที่เธอไม่พูดกับฉัน  แสดงว่า  เธอยังโกรธฉันอยู่  (ประกอบด้วยอนุพากย์นาม  อนุพากย์หลัก  และอนุพากย์นาม)

ประโยคซับซ้อนดังกล่าวข้างต้นนี้  ก็คือ  สังกรประโยคตามแนวหลักภาษาเดิมนั่นเอง

 

ประโยคผสม  คือประโยคที่ประกอบด้วยอนุพากย์หลักตั้งแต่  ๒  อนุพากย์ขึ้นไป  ซึ่ง  ความจริงก็คือ  อเนกัตถประโยค  ตามแนวหลักภาษาเดิมนั่นเอง  เช่น

เธอจะอยู่บ้าน  หรือจะไปตลาด  (ประกอบด้วยอนุพากย์หลัก  ๒  อนุพากย์)

ฉันจะไปซื้อผ้า  แล้วจะไปดูหนัง  แล้วจะไปทำผม  (ประกอบด้วยอนุพากย์หลัก  ๓  อนุพากย์)

 

ประโยคเชื่อม  คือประโยคสามัญชนิดประโยคไม่เริ่ม  ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำเชื่อม  เช่น  ถ้าเขาไม่มาล่ะ  เผื่อฝนตกล่ะ  เมื่อตำรวจจับผู้ร้ายนั้น

 

นอกจากนี้  ดร.วิจินตน์  ภานุพงศ์ และคณะ  (๒๕๕๒ : ๙๘)  ได้จำแนกประโยคตามโครงสร้างเป็น  ๓  ชนิด  ได้แก่  ประโยคสามัญหรือประโยคพื้นฐาน  ประโยคซ้อน  และประโยครวม  ซึ่งจะนำเสมอรายละเอียดในบทต่อไป

 

บทที่  ๒

                                            ประโยคสามัญ

                 

ความหมายของประโยคสามัญ

 

ประโยคสามัญ  หรือประโยคพื้นฐาน  คือ  ประโยคที่ประกอบด้วยนามวลีทำหน้าที่ประธานกับกริยาวลีทำหน้าที่ภาคแสดง  ประโยคสามัญต้องไม่มีอนุประโยคเป็นส่วนขยาย  และ ไม่มีคำเชื่อมกริยา  คำเชื่อมกริยาวลี  หรือคำเชื่อมประโยค  (วิจินตน์  ภานุพงศ์ และคณะ,  ๒๕๕๒  :  ๙๘)

 

ประโยคสามัญมีโครงสร้างดังนี้

 

  • ประธาน + กริยา เช่น

นกบิน                                                            งูเลื้อย

กบร้อง                                                           น้ำท่วม

แก้วแตก                                                        เด็กร้องไห้

ต้นไม้โค่น                                                   ดอกไม้บาน

 

ประธาน + ขยายประธาน + กริยา  เช่น

งูพิษเลื้อย

นกเขาบิน

น้ำป่าท่วม

กบตัวโตร้อง

ไก่ขนสีดำขัน

เด็กหญิงร้องไห้

ดอกกุหลาบแดงสวย

 

ประธาน + ขยายประธาน + กริยา + ขยายกริยา  เช่น

เด็กข้างบ้านร้องไห้เสียงดัง

งูตัวใหญ่ ๆ  เลื้อยไปอย่างเชื่องช้า

 

ประธาน + กริยา + ขยายกริยา

                                น้ำท่วมอย่างฉับพลัน

เขาเดินทางโดยเครื่องบิน

  • ประธาน + กริยา + กรรม เช่น

เด็กจับกบ

ฟ้าผ่าต้นไม้

กบกินแมลง

ครูดุนักเรียน

แม่ค้าขายข้าวแกง

แมลงตอมดอกไม้

 

                        ประธาน + ขยายประธาน + กริยา + กรรม  เช่น

น้องของฉันเห็นงู

กบสีเขียวในสระกินแมลง

 

                        ประธาน + ขยายประธาน + กริยา + กรรม + ขยายกริยา  เช่น

คนขยันทำงานเร็ว

คนแก่ข้ามถนนไม่ได้

แมลงปีกแข็งกระพือปีกเร็วมาก

 

                        ประธาน + กริยา + กรรม + ขยายกรรม  เช่น

แม่ทำอาหารอร่อย

เขาขับรถโดยสารประจำทาง

พ่อซื้อบ้านตากอากาศริมทะเลชะอำ

 

                        ประธาน + กริยา + กรรม + ขยายกริยา  เช่น

                                แดงเคาะประตูเบา ๆ

                                ต้นไม้ล้มทับกำแพงของเพื่อนบ้าน

เขารับประทานอาหารจีนด้วยตะเกียบอย่างคล่องแคล่ว

 

  • ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม เช่น

เสียงของเธอคล้ายเสียงของมาลีวัลย์

                                หน้าตาของเขาเหมือนพ่อของเขามาก

ความสำเร็จของลูกเป็นความหวังของพ่อแม่

                                ข้อดีของเขาคือการทำงานด้วยความซื่อสัตย์

อัพภันตร  แปลว่า  ภายใน   ภาหิระ  แปลว่า  ภายนอก

พระไตรรัตน์  คือ  พระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์

ประเภทของประโยคสามัญ

 

ดร.วิจินตน์  ภานุพงศ์ และคณะ  (๒๕๕๒ : ๙๘-๑๐๐)  ได้แบ่งประโยคสามัญออกเป็น     ๒  ประเภท  คือ  ประโยคสามัญที่มีกริยาวลีเดียวกับประโยคสามัญที่มีกริยาวลีหลายวลีเรียงกัน   โดยไม่มีคำเชื่อมกริยาวลีเหล่านั้น

 

  • ประโยคสามัญที่มีกริยาวลีเดียว

ประโยคสามัญที่มีกริยาวลีเดียว  คือ  ประโยคสามัญที่มีกริยาวลีเพียง  ๑  กริยาวลี      ในกริยาวลีมีคำกริยาเพียงคำเดียว  เช่น

น้องถูกดุ

นิสัยวารุณีเหมือนพ่อ

บ้านสีครีมหลังนั้นสวย

เด็กหญิงสุนันท์นั่งในห้องเรียน

นายเที่ยงเป็นครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัด

เครื่องหมายที่พักริมทางตามถนนหลวงถูกลบเสียแล้ว

อุบล  สนธยา  มารศรีและวิทูรกำลังกินส้มตำ  ซุบหน่อไม้และหมูน้ำตก

ลักษณาให้ของขวัญสุวรรณีทุกปี

ปรีชาเพิ่งเป็นหัวหน้าห้อง  ๒๐๖

พ่อกับพี่กำลังรดน้ำต้นไม้

ไม่ต้องไปงานกาชาดแล้ว

ง่วงเหลือเกิน

รักกันไว้เถิด

กินขนมซิ

หิวจังเลย

รีบ ๆ เข้า

 

  • ประโยคสามัญหลายกริยาวลี

ประโยคสามัญที่มีกริยาวลีหลายกริยาวลี  เป็นประโยคสามัญที่มีโครงสร้างกริยาเรียง  คือ  มีกริยาวลีหลายกริยาวลีทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประธานเดียวกันหรือต่างประธานกันก็ได้  แม้จะมีหลายกริยาวลีแต่ประโยคสามัญชนิดนี้ต้องไม่มีคำเชื่อมเชื่อมกริยาวลีเหล่านั้น  กริยาวลี     ในประโยคอาจแสดงเหตุการณ์ที่เกิดพร้อมกัน  เกิดต่อเนื่องกัน  เกิดก่อนหลังกันตามลำดับ  หรือเหตุการณ์หลังเป็นผลจากเหตุการณ์แรกก็ได้  เช่น

  • เหตุการณ์ในประโยคเกิดพร้อมกัน เช่น

สมชัยโบกมือ-ลาพวกเรา

สมเกียรติขับรถ-ข้ามสะพาน

เก๋นอน-ร้องเพลงในห้องนั่งเล่น

แอ๋วกับน้องกำลังนั่ง-อ่านหนังสือพิมพ์

  • เหตุการณ์ในประโยคเกิดต่อเนื่องกัน หรือเกิดก่อนหลังตามลำดับ  เช่น

คุณปู่เดิน-ไป-ใส่บาตรหน้าบ้าน

สมทรงพับเสื้อ-เก็บ-เข้าตู้

สุดาทำอาหาร-กินเอง

คุณป้าไป-ซื้อของที่ตลาด

แต๋ววิ่ง-ไป-เปิดประตูบ้าน

เราแวะ-ไป-เยี่ยมเด็ก ๆ ที่บ้าน

  • เหตุการณ์หลังเป็นผลของเหตุการณ์แรก เช่น

คลื่นซัดบ้าน-พังหมด

ลมพัดสังกะสี-ปลิว

เขาดีใจ-หัวเราะท้องคัดท้องแข็ง

หนามเกี่ยวเสื้อ-ขาด-เป็นรู

สุดารีดเสื้อ-เรียบมาก

เด็กลื่น-หกล้ม-ก้นกระแทก

เขาซักผ้า-สะอาดดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่  ๓

                                              ประโยครวม

                 

ความหมายของประโยครวม

ประโยครวม  คือ  ประโยคย่อยตั้งแต่  ๒  ประโยคขึ้นไปมารวมเข้าเป็นประโยคเดียว  ประโยคย่อยนั้นอาจเป็นประโยคสามัญหรือประโยคซ้อนก็ได้และต้องมีคำเชื่อมสมภาค  และ        และก็  แต่  ทว่า  แต่ทว่า  หรือ  ทำหน้าที่เชื่อมประโยคย่อยที่มารวมกันนั้น  (วิจินตน์  ภานุพงศ์    และคณะ,  ๒๕๕๒ : ๑๐๖)

รองศาสตราจารย์นพคุณ  คุณาชีวะ  (๒๕๕๔ : ๑๕๙)  ได้กล่าวถึงคำจำกัดความของ  “ประโยครวม”  ข้างต้นว่ามีลักษณะ  “เช่นเดียวกับอเนกรรถประโยคในหนังสือหลักภาษาไทย        พระยาอุปกิตศิลปสาร”

ประโยคที่จะนำมารวมกันเป็นประโยครวมนั้นอาจจะเป็น

  • ประโยครวมที่เกิดจากประโยคสามัญรวมกับประโยคสามัญ

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยคสามัญรวมกับประโยคสามัญ

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

วีรภาออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าเอง วีรภาออกแบบ และ ตัดเย็บเสื้อผ้าเอง
พ่อจะไปบางลำพูและแม่ก็จะไปด้วย พ่อจะไปบางลำพู และ แม่ก็จะไปด้วย
ฉันมีวิชาแต่เขามีทรัพย์ ฉันมีวิชา แต่ เขามีทรัพย์
ภรรยาผมตั้งครรภ์แต่แท้งเสียก่อน ภรรยาผมตั้งครรภ์ แต่ แท้งเสียก่อน
เขาทำงานหรือเขานอนหลับ เขาทำงาน หรือ เขานอนหลับ
เธอจะกินข้าวหรือเธอจะกินก๋วยเตี๋ยว เธอจะกินข้าว หรือ เธอจะกินก๋วยเตี๋ยว
  • ประโยครวมที่เกิดจากประโยคสามัญรวมกับประโยคซ้อน

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยคสามัญรวมกับประโยคซ้อน

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคซ้อน

(ประโยคย่อย)

เกษตรกรแถวนี้นิยมทำนา

และเลี้ยงปลาที่กินวัชพืชไว้ในนา

เกษตรกรแถวนี้

นิยมทำนา

และ เลี้ยงปลาที่กินวัชพืชไว้ในนา
ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยคสามัญรวมกับประโยคซ้อน

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคซ้อน

(ประโยคย่อย)

ได้ยินเขาพูดอยู่เหมือนกันแต่ไม่รู้

เขาต้องการอะไรแน่

ได้ยินเขาพูด

อยู่เหมือนกัน

แต่ ไม่รู้เขาต้องการอะไรแน่
เขาเดินมาแต่นายดำซึ่งเป็นตำรวจเดินไป เขาเดินมา แต่ นายดำซึ่งเป็นตำรวจเดินไป
หมอจะไปหาคนไข้หรือจะให้คนไข้มาหาหมอ หมอจะไปหาคนไข้ หรือ จะให้คนไข้มาหาหมอ
เขาเป็นคนดีหรือเด็กที่พูดกับเธอ

เป็นคนดี

เขาเป็นคนดี หรือ เด็กที่พูดกับเธอ

เป็นคนดี

 

  • ประโยครวมที่เกิดจากประโยคซ้อนรวมกับประโยคสามัญ

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยคซ้อนรวมกับประโยคสามัญ

ประโยคซ้อน

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

ครูสั่งให้นักเรียนอ่านบทที่  ๓

และทำแบบฝึกหัดท้ายบท

ครูสั่งให้นักเรียนอ่านบทที่  ๓ และ ทำแบบฝึกหัด

ท้ายบท

หลังคาที่รั่วนั้นซ่อมแล้วแต่น้ำฝน

ก็ยังซึมลงมาได้

หลังคาที่รั่วนั้นซ่อมแล้ว แต่ น้ำฝนก็ยังซึมลงมาได้
โค้ชตั้งใจจะเปลี่ยนนักกีฬาคนที่บาดเจ็บออกแต่ภายหลังก็เปลี่ยนใจ โค้ชตั้งใจจะเปลี่ยนนักกีฬาคนที่บาดเจ็บออก แต่ ภายหลังก็เปลี่ยนใจ
เพราะสุนัขที่ฉันจับเล่นเป็นบ้า  มันจึงกัดฉัน สุนัขที่ฉันจับเล่นเป็นบ้า เพราะ…จึง มันกัดฉัน

 

  • ประโยครวมที่เกิดจากประโยคซ้อนรวมกับประโยคซ้อน

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยคซ้อนรวมกับประโยคซ้อน

ประโยคซ้อน

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคซ้อน

(ประโยคย่อย)

สุดารับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์และดื่มแต่น้ำที่บริสุทธิ์ สุดารับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ และ ดื่มแต่น้ำที่บริสุทธิ์
ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยคซ้อนรวมกับประโยคซ้อน

ประโยคซ้อน

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคซ้อน

(ประโยคย่อย)

เขาบอกว่าจะมาถึงพรุ่งนี้แต่ไม่ได้บอกว่าจะถึงกี่โมง เขาบอกว่าจะมาถึงพรุ่งนี้ แต่ ไม่ได้บอกว่าจะถึง

กี่โมง

ฉันรักคนดีที่ฉันชอบ  แต่ฉันไม่ชอบคนดีที่ฉันชัง ฉันรักคนดีที่ฉันชอบ แต่ ฉันไม่ชอบคนดีที่ฉันชัง
คุณจะเลือกประชาธิปไตย

ที่นักการเมืองคอร์รัปชั่นหรือเลือกเผด็จการที่ผู้นำมีคุณธรรม

คุณจะเลือกประชาธิปไตย

ที่นักการเมืองคอร์รัปชั่น

หรือ เลือกเผด็จการที่ผู้นำมีคุณธรรม
เพราะเด็กที่อยู่ก่อนมีความขยัน  เด็กที่มาใหม่จึงได้ขยันตาม เด็กที่อยู่ก่อนมีความขยัน เพราะ…จึง เด็กที่มาใหม่ได้ขยันตาม

 

  • ประโยครวมที่เกิดจากประโยคสามัญรวมกับประโยครวม

 

ตัวอย่าง

 

ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยคสามัญรวมกับประโยครวม

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยครวม

(ประโยคย่อย)

เขามีพายแต่ฉันและน้องมีเรือ เขามีพาย แต่ ฉันและน้องมีเรือ
นายแดงจะได้ที่หนึ่งหรือนายดำและนายขาวจะได้ที่หนึ่ง นายแดงจะได้ที่หนึ่ง หรือ นายดำและนายขาวจะได้ที่หนึ่ง

 

  • ประโยครวมที่เกิดจากประโยครวมรวมกับประโยคสามัญ

 

ตัวอย่าง

 

ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยครวมรวมกับประโยคสามัญ

ประโยครวม

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

บิดาและบุตรเป็นชาวนา  แต่  หลานเป็นพ่อค้า บิดาและบุตร

เป็นชาวนา

แต่ หลานเป็นพ่อค้า
ต้นไม้และหญ้ามีสีเขียว  หรือ  ท้องฟ้ามีสีเขียว ต้นไม้และหญ้ามีสีเขียว หรือ ท้องฟ้ามีสีเขียว
  • ประโยครวมที่เกิดจากประโยครวมรวมกับประโยครวม

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยครวมรวมกับประโยครวม

ประโยครวม

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยครวม

(ประโยคย่อย)

ตาและหูอยู่ข้างบน  แต่  จมูก

และปากอยู่ข้างล่าง

ตาและหูอยู่ข้างบน แต่ จมูกและปาก

อยู่ข้างล่าง

เพราะหัวหินและบางแสนมีอากาศดี  เขาและฉันจึงชอบมาก หัวหินและบางแสนมีอากาศดี เพราะ…จึง เขาและฉันชอบมาก

 

  • ประโยครวมที่เกิดจากประโยคซ้อนรวมกับประโยครวม

 

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยคซ้อนรวมกับประโยครวม

ประโยคซ้อน

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยครวม

(ประโยคย่อย)

คนที่ข่มเหงกำนันและผู้ใหญ่บ้านเป็นคนพาล  แต่กำนันและผู้ใหญ่บ้านนั้นเป็นคนดี คนที่ข่มเหงกำนันและผู้ใหญ่บ้าน

เป็นคนพาล

แต่ กำนันและผู้ใหญ่บ้านนั้นเป็นคนดี
ถั่วที่ขึ้นในกระถางคือถั่วเขียว

แต่ตาสีและตาสาไม่ชอบถั่วเขียว

ถั่วที่ขึ้นในกระถางคือถั่วเขียว แต่ ตาสีและตาสา

ไม่ชอบถั่วเขียว

 

  • ประโยครวมที่เกิดจากประโยครวมรวมกับประโยคซ้อน

 

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่เกิดจาก

ประโยครวมรวมกับประโยคซ้อน

ประโยครวม

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคซ้อน

(ประโยคย่อย)

นายดำและนายแดงเป็นคนรวย

แต่คนที่เดินตามหลังเขาเป็นคนจน

นายดำและนายแดงเป็นคนรวย แต่ คนที่เดินตามหลังเขาเป็นคนจน
เนื้อและกระดูกเป็นอวัยวะ

หรือมือที่เปิบข้าวเป็นอวัยวะ

เนื้อและกระดูก

เป็นอวัยวะ

หรือ มือที่เปิบข้าว

เป็นอวัยวะ

 

ประโยครวมที่มีประธาน  กรรม  หน่วยเติมเต็ม  หรือหน่วยเสริมความเป็นคนหรือสิ่งเดียวกัน  มักละประธาน  กรรม  หน่วยเติมเต็ม  หรือหน่วยเสริมความในประโยคย่อยประโยคใดประโยคหนึ่ง  เช่น

พรทิพย์ชอบลำไยแต่ไม่ชอบทุเรียน  (ละประธานในประโยคย่อยที่  ๒)

ผมชอบแมวแต่คุณไม่ชอบนี่  (ละกรรมในประโยคย่อยที่  ๒)

เขาเคยเป็นนักร้องหรือไม่เคยเป็นกันแน่  (ละหน่วยเติมเต็มในประโยคย่อยที่  ๒)

ฉันเคยอ่านเรื่องเมืองอู่ทองแต่ฉันไม่เคยไปเลย  (ละหน่วยเสริมความในประโยคย่อยที่  ๒)

คุณจะนั่งรถ  ลงเรือ  หรือจะขึ้นเครื่องบินไป  (ละประธานในประโยคย่อยที่  ๒  และ  ๓)

 

ประเภทของประโยครวม

 

ประโยครวมแบ่งตามลักษณะการใช้สันธานเป็น  ๔  ประเภท  คือ

 

  • ประโยครวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน โดยใช้สันธาน  ก็,  กับ,  และ,  แล้วจึง,  แล้วก็,  แล้ว…ก็,  ทั้ง…และ,  ครั้น…จึง,  แล้ว…จึง,  ครั้น…ก็,  พอ…ก็,  ถ้า,  ครั้น…แล้ว…ก็,  พอ…แล้ว…จึง,  เมื่อ…แล้ว…ก็  เชื่อมประโยค

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่มีเนื้อความ

คล้อยตามกัน

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

เขาทำงานได้  ฉันก็ทำงานได้ เขาทำงานได้ ก็ ฉันทำงานได้
คุณพ่อกับคุณแม่กำลังรับประทานอาหาร คุณพ่อกำลังรับประทานอาหาร กับ คุณแม่กำลังรับประทานอาหาร
ผมและวิชาญเป็นนักกีฬา ผมเป็นนักกีฬา และ วิชาญเป็นนักกีฬา
พนักงานดับเพลิงดับไฟสงบแล้วจึงเข้าไปตรวจพื้นที่ พนักงานดับเพลิงดับไฟสงบ แล้วจึง (พนักงานดับเพลิง)เข้าไปตรวจพื้นที่
นักเรียนเคารพธงชาติแล้วก็เข้าห้อง

เรียน      

นักเรียนเคารพธงชาติ

               

แล้วก็ (นักเรียน)

เข้าห้องเรียน       

วนิดาอาบน้ำแล้วเธอก็เข้านอน วนิดาอาบน้ำ แล้ว…ก็ เธอเข้านอน
ทั้งเขาและเธอสอบบรรจุข้าราชการได้ เขาสอบบรรจุข้าราชการได้ ทั้ง…และ เธอสอบบรรจุข้าราชการได้
ครั้นเขาเล่นกีฬาเสร็จแล้ว  เขาจึงทำการบ้าน เขาเล่นกีฬาเสร็จแล้ว ครั้น…จึง เขาทำการบ้าน
ประโยครวมที่มีเนื้อความ

คล้อยตามกัน

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

เขาไปทำงานแล้วเขาจึงกลับบ้าน เขาไปทำงาน แล้ว…จึง เขากลับบ้าน
ครั้นภรรยาตวาดเขาก็หลบหน้า ภรรยาตวาดเขา ครั้น…ก็ เขาหลบหน้า
พอดนตรีบรรเลง  ตัวละครก็เต้นระบำออกมา ดนตรีบรรเลง พอ…ก็ ตัวละครเต้นระบำออกมา
ถ้าฝนไม่ตก  ฉันจะไป ฝนไม่ตก ถ้า ฉันจะไป
ครั้นเขาเดินทางมาถึงแล้ว

เขาก็ไม่ไปไหนอีก

เขาเดินทางมาถึง ครั้น…แล้ว  …ก็ เขาไม่ไปไหนอีก
พอเขาหลับแล้ว  ไม่ช้าฉันจึงได้ไป เขาหลับ พอ…แล้ว  …จึง ไม่ช้าฉันได้ไป
เมื่อสมชายกินข้าวเสร็จแล้ว

เขาก็รีบเดินไปซื้อหนังสือพิมพ์

สมชายกินข้าวเสร็จ เมื่อ…แล้ว  …ก็ เขารีบเดินไปซื้อหนังสือพิมพ์

 

  • ประโยครวมที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน โดยใช้สันธาน  แต่,  แต่ว่า,  แต่ทว่า,  แม้,  ส่วน,  แม้…ก็,  ถึง…ก็,  แต่…ก็,  กว่า…ก็,  ถึง…แต่ก็,  แม้…แต่…ก็ยัง  เชื่อมประโยค

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่มีเนื้อความ

ขัดแย้งกัน

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

สมหมายเป็นนักร้องแต่สมบัติ

เป็นนักแสดง

สมหมายเป็นนักร้อง

 

แต่

 

สมบัติเป็นนักแสดง
สุธรรมเรียนไม่เก่งแต่ว่ามีเพื่อนเยอะ สุธรรมเรียนไม่เก่ง แต่ว่า (สุธรรม)มีเพื่อนเยอะ
เขาขาดเรียนบ่อยแต่ทว่าเขาสอบผ่าน เขาขาดเรียนบ่อย แต่ทว่า เขาสอบผ่าน
พ่อไปตีกอล์ฟส่วนแม่ไปตลาด พ่อไปตีกอล์ฟ ส่วน แม่ไปตลาด
เขามาหาฉันแม้เขายังไม่หายป่วย เขามาหาฉัน แม้ เขายังไม่หายป่วย
แม้พ่อไม่อนุญาตฉันก็จะไป พ่อไม่อนุญาต แม้…ก็ ฉันจะไป
ถึงเขาจะเป็นนักเลงโต

ฉันก็ไม่กลัวเขา

เขาจะเป็นนักเลงโต

 

ถึง…ก็ ฉันไม่กลัวเขา
น้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็ว  แต่ข้าว

ในนาก็ไม่เสียหาย

น้ำไหลบ่า

อย่างรวดเร็ว 

แต่…ก็ ข้าวในนาไม่เสียหาย
ประโยครวมที่มีเนื้อความ

ขัดแย้งกัน

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

กว่าถั่วจะสุก  งาก็ไหม้ ถั่วจะสุก กว่า…ก็ งาไหม้
ถึงรพีพรรณตั้งใจเรียนอย่างไร  แต่ก็ไม่เคยสอบได้ที่หนึ่งของโรงเรียนสักที รพีพรรณตั้งใจเรียนอย่างไร ถึง…แต่ก็ (รพีพรรณ)ไม่เคยสอบได้ที่หนึ่งของโรงเรียนสักที

 

  • ประโยครวมที่มีเนื้อความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้สันธาน  หรือ,  ไม่…ก็,มิฉะนั้น,  ไม่เช่นนั้น,  หรือไม่ก็  เชื่อมประโยค

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่มีเนื้อความ

ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คุณจะอยู่หรือจะไป คุณจะอยู่ หรือ (คุณ)จะไป
เขาจะกินข้าวหรือไม่ เขาจะกินข้าว หรือ (เขาจะ)ไม่(กินข้าว)
ไม่สมชายก็สมศักดิ์ต้องสอบได้ที่  ๑ สมชายต้องสอบได้ที่  ๑ ไม่…ก็ สมศักดิ์ต้องสอบได้ที่  ๑
ไม่เธอก็ฉันเป็นคนไปซื้ออาหาร เธอเป็นคนไปซื้ออาหาร ไม่…ก็ ฉันเป็นคนไปซื้ออาหาร
เธอต้องเลิกสูบบุหรี่  มิฉะนั้น  เธอจะอายุสั้น เธอต้องเลิกสูบบุหรี่ มิฉะนั้น เธอจะอายุสั้น
นักเรียนต้องขยันมาก ๆ มิฉะนั้น

จะสอบไม่ได้

นักเรียนต้องขยันมาก ๆ มิฉะนั้น

 

(นักเรียน)จะสอบไม่ได้
คุณต้องรีบดูหนังสือสอบ  ไม่เช่นนั้นคุณจะสอบตก คุณต้องรีบดูหนังสือสอบ  ไม่เช่นนั้น คุณจะสอบตก
รัฐบาลต้องรีบแก้ไขเศรษฐกิจไม่เช่นนั้นประชาชนจะเดือดร้อน รัฐบาลต้องรีบแก้ไขเศรษฐกิจ ไม่เช่นนั้น ประชาชน

จะเดือดร้อน

เด็กบางคนเล่นเกมหรือไม่ก็เล่น

ขายของ

เด็กบางคนเล่นเกม หรือไม่ก็ (เด็กบางคน)

เล่นขายของ

ฉันหรือไม่ก็เธอต้องหุงข้าวพรุ่งนี้เช้า ฉันต้องหุงข้าวพรุ่งนี้เช้า หรือไม่ก็ เธอต้องหุงข้าวพรุ่งนี้เช้า
  • ประโยครวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน โดยใช้สันธาน  จึง,  ดังนั้นจึง,  ฉะนั้นจึง,              ดังนั้น…จึง,  เพราะเหตุว่า,  เพราะ…จึง,  เพราะฉะนั้นจึง,  เพราะฉะนั้น…จึง,  เพราะ…ฉะนั้น…จึง    เชื่อมประโยค

ตัวอย่าง

ประโยครวมที่มีเนื้อความ

เป็นเหตุเป็นผลกัน

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

คำสันธาน

(เชื่อม)

ประโยคสามัญ

(ประโยคย่อย)

เขาเดินตากฝนมาจึงเป็นไข้หวัด เขาเดินตากฝนมา จึง (เขา)เป็นไข้หวัด
มอมรักนายสุดชีวิตจิตใจจึงยอมตายไปอยู่กับนาย มอมรักนายสุดชีวิตจิตใจ จึง (มอม)ยอมตายไปอยู่กับนาย
เขาเกียจคร้านดังนั้นจึงสอบตก เขาเกียจคร้าน ดังนั้นจึง (เขา)สอบตก
พี่ชายเป็นคนเกเรดังนั้นเขาจึงเรียนไม่จบ พี่ชายเป็นคนเกเร ดังนั้น…จึง เขาเรียนไม่จบ
น้องเกียจคร้านฉะนั้นจึงสอบตก น้องเกียจคร้าน ฉะนั้นจึง (น้อง)สอบตก
หล่อนไม่รักเขาเพราะเหตุว่า

เขาสูบบุหรี่

หล่อนไม่รักเขา เพราะเหตุว่า เขาสูบบุหรี่
เพราะเขาตั้งใจเรียนหนังสือ  เขาจึงไม่เคยถูกครูทำโทษ เขาตั้งใจเรียนหนังสือ เพราะ…จึง เขาไม่เคยถูกครู

ทำโทษ

ในสหรัฐอเมริกาการเล่นบาสเกตบอลเป็นอาชีพที่มีรายได้ดีอย่างหนึ่ง  เพราะฉะนั้นจึงมีเด็กจำนวนมากใฝ่ฝันจะเป็นนักบาสเกตบอล ในสหรัฐอเมริกาการเล่นบาสเกตบอลเป็นอาชีพที่มีรายได้ดีอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึง มีเด็กจำนวนมากใฝ่ฝันจะเป็น

นักบาสเกตบอล

สุนทรภู่ฝักใฝ่ทางกาพย์กลอนเพราะฉะนั้นสุนทรภู่จึงเปลี่ยน

ไปรับราชการในกรมพระอาลักษณ์

สุนทรภู่ฝักใฝ่

ทางกาพย์กลอน

เพราะฉะนั้น…จึง สุนทรภู่เปลี่ยน

ไปรับราชการในกรมพระอาลักษณ์

เพราะตัดต้นไม้มากฉะนั้นฝนจึง

ไม่ตกตามฤดูกาล

เพราะตัดต้นไม้มาก ฉะนั้น…จึง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล

                                             ประโยคซ้อน

ความหมายของประโยคซ้อน

ประโยคซ้อน  คือ  ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคหลักกับอนุประโยค

(วิจินตน์  ภานุพงศ์,  ๒๕๕๒ : ๑๐๑)

รองศาสตราจารย์นพคุณ  คุณาชีวะ  (๒๕๕๔ : ๑๕๙)  ได้กล่าวถึงคำจำกัดความของ  “ประโยคซ้อน”  ข้างต้นว่ามีลักษณะ  “เช่นเดียวกับสังกรประโยคในหนังสือหลักภาษาไทย          พระยาอุปกิตศิลปสาร”

ประโยคซ้อนจะประกอบด้วยประโยค  ๒  ชนิด  คือ

  • ประโยคหลัก หรือ  มุขยประโยค  คือ  ประโยคที่มีอีกประโยคหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประโยค  ได้แก่  เป็นประธาน  เป็นหน่วยเติมเต็ม  หรือเป็นส่วนขยาย  เช่น

เขามีหนังสือซึ่งฉันไม่มี

คนที่ปรารถนาความสุข  จะต้องมีหลักธรรมประจำใจ

คนเกียจคร้านที่ร้องไห้อยู่ในห้องสอบตก

  • อนุประโยค คือ  ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำเชื่อมอนุประโยค  อนุประโยคทำหน้าที่       ได้อย่างนามวลี  คือ  เป็นประธาน  กรรม  หน่วยเติมเต็ม  หรือขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยค  หรือทำหน้าที่อย่างวิเศษณ์วลี  คือ  ทำหน้าที่ขยายกริยาวลี

 

ประเภทของประโยคซ้อน

 

อนุประโยคแบ่งได้เป็น  ๓  ประเภท  คือ  นามานุประโยค  คุณานุประโยค  และ        วิเศษณานุประโยค  ประโยคซ้อนจึงแบ่งตามอนุประโยคได้เป็น  ๓  ประเภท  คือ  ประโยคซ้อน     ที่มีนามานุประโยค  ประโยคซ้อนที่มีคุณานุประโยค  และประโยคซ้อนที่มีวิเศษณานุประโยค  (วิจินตน์  ภานุพงศ์  และคณะ,  ๒๕๕๒ : ๑๐๒)

  • ประโยคซ้อนที่มีนามานุประโยค

นามานุประโยค  คือ  อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนนามวลี  กล่าวคือ  อาจทำหน้าที่เป็นประธาน  กรรม  หน่วยเติมเต็ม  หรือหน่วยเสริมความ  นามานุประโยคจะมีคำเชื่อม                นามานุประโยคได้แก่  ที่  ที่ว่า  ว่า  ให้  นำหน้า  เช่น

ประโยคซ้อน

ที่มีนามานุประโยค

ประโยคหลัก

(มุกขยประโยค)

คำสันธาน

(เชื่อม)

นามานุประโยค หน้าที่
พลทหารเรียงแถวไปลงคะแนนเลือกตั้ง ไปลงคะแนนเลือกตั้ง

 

พลทหารเรียงแถว

 

บทประธาน

 

เขาพูดเช่นนี้  เป็นการส่อนิสัยชั่ว การส่อนิสัยชั่ว

 

 

เขาพูดเช่นนี้

 

บทประธาน

 

เด็กนอนหลับเป็นเด็กมีสุขภาพดี เด็กมีสุขภาพดี

 

 

เด็กนอนหลับ

 

บทประธาน

 

ที่เขาเล่ามานั้นถูกต้องแน่นอน ถูกต้องแน่นอน

 

ที่

 

เขาเล่ามานั้น

 

บทประธาน

 

ฉันเห็นเด็กเรียนหนังสือ ฉันเห็นเด็ก (เด็ก) เรียนหนังสือ บทกรรม
รัฐบาลส่งเสริมให้มีการพัฒนาสินค้าไทย รัฐบาลส่งเสริม

 

ให้

 

มีการพัฒนาสินค้าไทย บทกรรม

 

ครูเล่าว่าบ้านครูเลี้ยงไก่แจ้ ครูเล่า ว่า บ้านครูเลี้ยงไก่แจ้ บทกรรม
พรลักษมีไม่ชอบให้ใครมาว่าครูของเธอ พรลักษมีไม่ชอบ

 

ให้

 

ใครมาว่าครูของเธอ บทกรรม
กรรมหนักข้อหนึ่งคือทำให้สงฆ์แตกกัน กรรมหนักข้อหนึ่ง

 

ให้

 

ทำ (ให้) สงฆ์แตกกัน หน่วย

เติมเต็ม

หม่อมราโชทัยเป็นกวีแต่งนิราศลอนดอน หม่อมราโชทัย(เป็นกวี)

 

กวีแต่งนิราศลอนดอน หน่วย

เติมเต็ม

เลขานุการคนใหม่เป็นที่โปรดปรานของเจ้านาย เลขานุการคนใหม่ของเจ้านาย ที่

 

โปรดปรานของเจ้านาย หน่วย

เติมเต็ม

ครูดีใจที่นักเรียนของครูสอบผ่านหมดทุกคน

 

ครูดีใจ

 

 

ที่

 

 

นักเรียนของครูสอบผ่านหมด

ทุกคน

หน่วย

เสริมความ

 

ฉันหัวเราะที่เขาทำตลก

 

ฉันหัวเราะ

 

ที่

 

เขาทำตลก

 

หน่วย

เสริมความ

เขาได้ยินมาว่าปีนี้น้ำจะมาก

 

เขาได้ยินมา

 

ว่า

 

ปีนี้น้ำจะมาก

 

หน่วย

เสริมความ

  • ประโยคซ้อนที่มีคุณานุประโยค

คุณานุประโยค  คือ  อนุประโยคที่ทำหน้าที่ขยายนามที่นำมาข้างหน้า  อนุประโยค  ชนิดนี้มีคำเชื่อมคุณานุประโยค  ที่  ซึ่ง  อัน  และคำเชื่อมคุณานุประโยคนั้นเป็นประธานของ        อนุประโยคด้วย  เช่น

ประโยคซ้อน

ที่มีคุณานุประโยค

ประโยคหลัก

(มุกขยประโยค)

ประพันธ

สรรพนาม

คุณานุประโยค หน้าที่
ฉันรักคนไทยที่รักชาติไทย

 

ฉันรักคนไทย

 

ที่

 

รักชาติไทย

 

ขยายคำนามคนไทย
ชาวบ้านที่รักประชาธิปไตยจะไม่ขายเสียงแน่นอน ชาวบ้านจะไม่ขายเสียงแน่นอน ที่

 

(ชาวบ้าน)

รักประชาธิปไตย

ขยายคำนามชาวบ้าน
สุดาซื้อเสื้อสีฟ้าตัวนั้นจากเด็กที่อยู่ข้างบ้าน สุดาซื้อเสื้อสีฟ้าตัวนั้นจากเด็ก ที่

 

(เด็ก) อยู่ข้างบ้าน

 

ขยายคำนามเด็ก
อาจารย์ชอบคนซึ่งตั้งใจเรียนสม่ำเสมอ อาจารย์ชอบคน

 

ซึ่ง

 

(คน) ตั้งใจเรียนสม่ำเสมอ ขยายคำนามคน
พระคุณเจ้าซึ่งกำลังเทศน์

มีความรู้ดี

 

พระคุณเจ้ามีความรู้ดี

 

ซึ่ง

 

 

(พระคุณเจ้า) กำลังเทศน์

 

ขยายคำสรรพนามพระคุณเจ้า
พระเจ้าลูกยาเธอทรงศึกษาภาษาต่างประเทศ  ซึ่งได้แก่  อังกฤษ  ฝรั่งเศสหรือเยอรมัน  อย่างน้อยสอง

ภาษา

พระเจ้าลูกยาเธอทรงศึกษาภาษา

ต่างประเทศ

 

 

ซึ่ง

 

 

 

 

ได้แก่  อังกฤษ  ฝรั่งเศสหรือเยอรมัน  อย่างน้อยสองภาษา

 

ขยายคำนามภาษา

ต่างประเทศ

 

 

ฉันรักชนบทอันเป็นบ้านเกิดของฉัน ฉันรักชนบท

 

อัน

 

(ชนบท) เป็นบ้านเกิดของฉัน ขยายคำนามชนบท
บุตรหลานอันเป็นที่รักของเราควรได้รับการดูแล บุตรหลานควรได้รับการดูแล อัน

 

(บุตรหลาน)

เป็นที่รักของเรา

ขยายคำนามบุตรหลาน
พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่  ๕  เป็นสุภาษิตอันมีค่ายิ่ง

 

พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่  ๕  เป็นสุภาษิต อัน

 

 

มีค่ายิ่ง

 

 

ขยายคำนาม

สุภาษิต

 

  • ประโยคซ้อนที่มีวิเศษณานุประโยค

วิเศษณานุประโยค  คือ  อนุประโยคที่ทำหน้าที่อย่างวิเศษณ์วลี  คือขยายกริยาวลี  โดยมีคำสันธาน  เมื่อ  ขณะที่  หลังจาก  เพราะ  เพราะว่า  เพราะเหตุว่า  เหตุว่า  ด้วยว่า  เนื่องจาก         จน  จนกระทั่ง  ราวกับ  ให้  ระหว่างที่  ตาม  ตามที่  กว่า  เหมือน  ดุจ  เสมือน  อย่างที่  ตรง   และคำประพันธวิเศษณ์  ที่  ซึ่ง  อัน  เป็นบทเชื่อม  เช่น

 

ประโยคซ้อน

ที่มีวิเศษณานุประโยค

ประโยคหลัก

(มุกขยประโยค)

บทเชื่อม วิเศษณานุประโยค หน้าที่
ฉันตื่นนอนเมื่อแม่ปลุก

 

ฉันตื่นนอน

 

เมื่อ

 

แม่ปลุก

 

ขยายกริยาวลี  ตื่นนอน
ข่าวศึกพม่ามาถึงกรุง      ศรีอยุธยาขณะที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ทรงเตรียมทัพไปรบเขมร

ข่าวศึกพม่ามาถึงกรุงศรีอยุธยา

 

 

ขณะที่

 

 

 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเตรียมทัพไปรบเขมร

 

ขยายกริยาวลี  มา

 

 

เขาถูกชนเพราะปากไม่ดี

 

เขาถูกชน

 

เพราะ

 

ปากไม่ดี

 

ขยายกริยาวลี  ถูกชก
เขาใส่เสื้อหนาเพราะว่าอากาศเย็น เขาใส่เสื้อหนา

 

เพราะว่า

 

อากาศเย็น

 

ขยายกริยาวลี  ใส่
คุณครูไม่สอนเพราะเหตุว่าไปประชุม คุณครูไม่สอน

 

เพราะเหตุว่า (คุณครู)

ไปประชุม

ขยายกริยาวลี  ไม่สอน
วันนี้หัวหน้าไม่มาเนื่องจากเขาเป็นไข้หวัด วันนี้หัวหน้าไม่มา

 

เนื่องจาก

 

เขาเป็นไข้หวัด

 

ขยายกริยาวลี  ไม่มา
ฉันป่วยจนมาโรงเรียนไม่ได้ ฉันป่วย

 

จน

 

(ฉัน) มาโรงเรียนไม่ได้ ขยายกริยาวลี  ป่วย
เขานอนจนกระทั่งถึงเช้า

 

เขานอน

 

จนกระทั่ง

 

(นอน) ถึงเช้า

 

ขยายกริยาวลี  นอน
เขาส่งเสียงดังราวกับช้างร้อง เขาส่งเสียงดัง

 

ราวกับ

 

ช้างร้อง

 

ขยายวิเศษณ์วลี  ดัง
แม่สั่งให้ลูกกลับบ้านตรงเวลา แม่สั่ง

 

ให้

 

ลูกกลับบ้านตรงเวลา ขยายกริยาวลี  สั่ง
ประโยคซ้อน

ที่มีวิเศษณานุประโยค

ประโยคหลัก

(มุกขยประโยค)

บทเชื่อม วิเศษณานุประโยค หน้าที่
หลังจากสมเด็จ

พระนเรศวรมหาราชมีชัยในสงครามยุทธหัตถี 

พม่าไม่กล้ารุกรานไทย

เป็นเวลานับร้อยปี

พม่าไม่กล้ารุกรานไทยเป็นเวลานับร้อยปี หลังจาก สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีชัยในสงครามยุทธหัตถี

 

ขยายกริยาวลี  กล้ารุกราน
พ่ออ่านหนังสือระหว่างที่นั่งรถไฟ พ่ออ่านหนังสือ ระหว่างที่ (พ่อ) นั่งรถไฟ ขยายกริยาวลี  อ่าน
นักเรียนปฏิบัติตามครูอธิบาย นักเรียนปฏิบัติ ตาม ครูอธิบาย ขยายกริยาวลี  ปฏิบัติ
เขาทำการบ้านตามที่ฉันสอน เขาทำการบ้าน ตามที่ ฉันสอน ขยายกริยาวลี  ทำ
เธอเขียนหนังสือเร็วกว่าฉันเขียน เธอเขียนหนังสือเร็ว กว่า ฉันเขียน (หนังสือ) ขยายวิเศษณ์วลี  เร็ว
เขาดูทรุดโทรมเหมือนคนป่วยหนัก เขาดูทรุดโทรม เหมือน คนป่วยหนัก ขยายกริยาวลี  ดูทรุดโทรม
เขาดูองอาจดุจพญาราชสีห์ เขาดูองอาจ ดุจ พญาราชสีห์ ขยายวิเศษณ์วลี  องอาจ
เขาเดินสง่างามเสมือนนายแบบ เขาเดินสง่างาม เสมือน นายแบบ (เดิน) ขยายกริยาวลี  เดิน
สมเด็จพระนเรศวร

มหาราชทรงประกอบวีรกรรมยิ่งใหญ่  อย่างที่กษัตริย์อื่นใดไม่อาจเทียบเทียมพระองค์ได้

สมเด็จพระนเรศวร

มหาราชทรงประกอบวีรกรรมยิ่งใหญ่

อย่างที่ กษัตริย์อื่นใดไม่อาจเทียบเทียมพระองค์ได้ ขยายวิเศษณ์วลี  ยิ่งใหญ่
ลูกตาลตกตรงกระต่ายนอน ลูกตาลตก ตรง กระต่ายนอน ขยายกริยาวลี  ตก